วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

การสำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์

 สำหรับการสำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม จะทำให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณลักษณะตรงกับความต้องการและเหมาะสมกับงานมากที่สุด ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องรู้ระดับการใช้งานของตนเอง เพื่อสแบ่งตามประเภทของผู้ใช้ ซึ่งแบ่งได้ ดังนี้
        1.1 ระดับผู้ใช้ทั่วไปและผู้ใช้มือใหม่ ผู้ใช้ทั่วไปเป็นผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับงานด้านเอกสาร รายงาน งานในสำนักงานต่างๆ และเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป เช่น MICROSOFT OFFICE เพื่อจัดทำเอกสารามารถกำหนดคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมได้ต่อไป การแบ่งระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้น อาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมัก รายงานเพื่อนำเสนอ หรือาจจะใช้โปรแกรม PHOTOSHOP แต่งภาพเล็กๆน้อยๆเป็นต้น
ส่วนผู้ใช้มือใหม่เป็นผู้ที่ยังไม่เคยสัมผัสคอมพิวเตอร์มาก่อน แนะนำให้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อจะดีกว่า เพราะ จะได้ไม่ต้องกังวลเวลาที่เครื่องมีปัญหา ผู้ใช้ระดับนี้มักยังใช้งานแบบลองผิดลองถูกอยู่บ้าง อาจทำให้เครื่องเกิดปัญหาได้บ่อยครั้ง จึงไม่จำเป็นต้องเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพง
1.2 ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิก (GRAPHIC USER) งานด้านกราฟิก ตัวอย่างเช่น งานด้านการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโฆษณาจะต้องใช้ฮาร์ดแวร์และโปรแกรมต่างๆ ที่มีคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงพอสมควร บางครั้งอาจจะต้องใช้โปรแกรมพร้อมกันหลายๆตัว เช่น โปรแกรม PHOTOSHOP, IIIUSTRATOR, CORELDRAW, PAGEMAKER เป็นต้น ซึ่งราคาคอมพิวเตอร์จัดอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง ผู้ใช้ระดับนี้จึงควรจะประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เอง เพราะจะทำให้ได้รับความรู้มากขึ้น สามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องได้ตามลักษณะเฉพาะของงานด้านกราฟิก และทำให้ใช้งานโปรแกรมต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        1.3 ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิกขั้นสูง (ADVANCED GRAPHIC USER) ซึ่งต้องแสดงผลงานในรูปแบบสามมิติ หรือ 3D ANIMATION ผู้ใช้ระดับนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากในระดับการคำนวณระดับสูง เช่น การสร้างภาพในรูปแบบสามมิติ โดยใช้โปรแกรม AUTO CAD, 3D STUDIO MAX และ MAYA เป็นต้น จึงควรจะเลือกประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เองเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
       1.4 ระดับผู้เล่นเกม (GAMMER USER) ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกม ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องฟุ่มเฟือย ที่จะต้องใช้เงินจำนวนมากซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรองรับเกมที่มีภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และภาพสามมิติ แต่ในปัจจุบันราคาของอุปกรณ์ต่างๆไม่สูงมากจนเกินไป ดังนั้นการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เอง จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเล่นเกมเป็นชีวิตจิตใจ แต่สำหรับเด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน และยังไม่มีรายได้เป็นของตนเอง เพราะนอกจากจะทำให้เสียการเรียนแล้วยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองอีกด้วย

หน่วยส่งออก

 หน่วยส่งออก (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผล โดยนำผลที่ได้ออกมาจากหน่วนความจำหลักแสดงให้ผูใช้ได้รับรู้โดยประสาทสัมผัสต่างๆ  เช่น ตา หู หรือแม้กระทั่งการสัมผัสด้วยมือก็ได้ อุปกรณืต่างๆ เหล่านี้ได้แก่
          1. จอภาพ (monitor) มีลักษณะเป็นจอภาพเหมือนจอโทรทัศน์ทั่วไป การส่งออกของข้อมูลจะปรากฏบนจอภาพ ซึ่งแสดงได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายพิเศษ และยังสามารถแสดงรูปภาพได้ด้วย จอภาพ มี 2 แบบคือ ซีอาร์ที (Cathode Ray Tube : CRT) ใช้เทคโนโลยีของหลอดรังสีอิเล็กตรอน เช่นเดียวกับจอโทรทัศน์ในการทำให้เกิดภาพ และจอแบบแอลซีดี (Liquid Crystral Display : LCD) ใช้เทคโนโลยีของการบรรจุของเหลวไว้ภายในจอ เช่นเดียวกับหน้าปัดนาฬิกาในระบบตัวเลข การแสดงผลบนจอภาพจะแสดงด้วยจุดเล็กๆ ตามแนวนอนและแนวตั้ง แต่เดิมจอภาพแสดงผลได้เพียงสีเดียว พัฒนาการต่อมาทำให้การแสดงผลเป็นสีหลายสีได้ นอกจากนี้ยังมีความละเอียดมากขึ้น เช่น จอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน แสดงผลในภาวะกราฟิกได้อย่างน้อยในแนวนอน 800 จุด ในแนวตั้ง 600 จุด และแสดงสีได้ถึงล้านสีขนาดของจอภาพจะวัดความยาวตามเส้นทแยงมุม จอภาพโดยทั่วไปจะมีขนาด 15 นิ้ว หรือ 17 นิ้ว การแสดงผลของจอภาพควบคุมโดยแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์  




          2.  เครื่องพิมพ์ (printer)  เครื่องพิมพ์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์มีหลายประเภทตามเทคโนโลยีการพิมพ์
เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่พิมพ์ลงบนกระดาษ เครื่องพิมพ์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์มีดังนี้  
              - เครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีหัวยิงเป็นเข็มขนาดเล็ก พุ่งไปชนแผ่นผ้าหมึก เพื่อให้หมึกติดบนกระดาษเป็นจุดเล็กๆ หลายๆ จุดเรียงกันเป็นตัวหนังสือหรือรูปภาพหัวเข็มที่ใช้ยิงไปยังผ้าหมึกมีจำนวนหลายหัว โดยปกติใช้ขนาด 24 หัวเข็ม ซึ่งจัดวางเรียงกันในแนวตั้ง ทำให้ได้ตัวหนังสือที่ละเอียดพอควร
               - เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้ความคมชัดและความละเอียดสูงการพิมพ์จะใช้หลักการทางแสง
ปกติมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 600 จุดต่อนิ้วเครื่องพิมพ์เลเซอร์จึงเป็นเครื่องพิมพ์ที่เหมาะกับงานพิมพ์
ที่ต้องการคุณภาพพัฒนาการทางเทคโนโลยีทำให้เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ได้รับความนิยมสูงขึ้นเพราะเมื่อเทียบประสิทธิภาพ
ต่อราคาแล้วเครื่องพิมพ์ชนิดนี้เหมาะที่จะใช้ในสำนักงานแต่ไม่สามารถพิมพ์สำเนากระดาษคาร์บอนได้
               - เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (inkjet printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้วิธีการพ่นหมึกและผสมสีจากแม่สีสามสีคือแดง เหลืองและน้ำเงิน โดยจะผสมสีให้ได้สีตามความต้องการและพ่นหมึกเพื่อให้ติดบนกระดาษ
   ในปัจจุบันเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกเป็นที่นิยมกันมาก เนื่องจากสามารถพิมพ์รูปภาพออกมาเป็นสีที่สวยงาม
          3. ลำโพง (Speaker) ลำโพงทำหน้าที่แสดงผลออกมาในรูปแบบเสียง ซึ่งจะทำงานรวมับอุกรณ์การ์ดเสียง (Sound Card) ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ออกมาเป็นสัญญาณเสียงแล้วส่งออกทางลำโพง ส่วนมากใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบมัลติมีเดีย

หน่วยความจำลอง

หน่วยความจำรอง (Secondary Memory)

        หน่วยความจำรอง เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานในคราวต่อไปได้ ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลและโปรแกรมได้เป็นจำนวนมาก เป็นหน่วยเก็บข้อมูลถาวรที่ผู้ใช้สามารถย้ายข้อมูลและคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำแรม ขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานมาจัดเก็บไว้ได้ด้วยคำสั่งบันทึกของโปรแกรมประยุกต์ ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลและคำสั่งมาใช้ในภายหลัง ซึ่งหน่วยความจำรองมีความจุข้อมูลมากกว่าหน่วยความจำหลักและมีราคาถูกกว่า แต่เข้าถึงข้อมูลได้ช้ากว่าหน่วยความจำแรม อุปกรณ์หน่วยความจำรองที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้

1. ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) 

        เป็นอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก สามารถเก็บได้อย่างถาวร โดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ โปรแกรม และข้อมูลต่าง ๆ ฮาร์ดดิสก์มีหน่วยความจุตั้งแต่เป็นไบต์ เมกะไบต์ จนถึงจิกะไบต์ หากเครื่องคอมพิวเตอร์มีความจุของฮาร์ดดิสก์มากก็จะทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มาก

ฮาร์ดดิสก์ 


        ฮาร์ดดิสก์ ทำจากแผ่นจานแม่เหล็กวางซ้อนกันหลาย ๆ แผ่น โดยที่ทุกแทรกและเซกเตอร์ที่มีตำแหน่งตรงกันของฮาร์ดดิสก์ในชุดหนึ่งจะเรียกว่าไซลินเดอร์ แผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสก์นั้นหมุนเร็วมาก โดยที่หัวอ่านและบันทึกจะไม่ไปสัมผัสกับผิวของจานแม่เหล็ก ดังนั้นหากหัวอ่านและบันทึกมีฝุ่นสะสมอยู่มาก หัวอ่านและบันทึกจะไปสัมผัสกับผิวของจานแม่เหล็ก ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการเรียกใช้ข้อมูลหรือเกิดความเสียหายได้

การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์

        1. ควรเลือกฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุและความเร็วเหมาะสมกับลักษณะงานที่ใช้ เช่น งานพิมพ์เอกสาร ดูหนัง ฟังเพลง และเล่นอินเทอร์เน็ต ควรมีความจุ 0-10 GB/5,400 RPM งานกราฟิก ตกแต่งภาพความละเอียดสูง เล่นเกม ความจุ 200-250 GB/7,200 RPM และงานสร้างมัลติมีเดีย ตัดต่อเสียงและวีดิโอ ควรมีความจุตั้งแต่ 320 GB ขึ้นไป/10,000 RPM เป็นต้น

        2. ควรเลือกฮาร์ดดิสก์ที่มีการรับประกัน

การดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์

        1. ควรสแกนหาไวรัสเป็นประจำทุกสัปดาห์ หรือติดตั้งดปรแกรมสแกนไวรัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์และปรับปรุงโปรแกรมสแกนไวรัสอยู่เสมอ

        2. ควรลบไฟล์ขยะเป็นประจำทุกวันหรือทุกสัปดาห์ โดยการเรียกใช้โปรแกรมอรรถประโยชน์ของวินโดว์ ได้แก่ Disk Cleanup

        3. ควรสแกนดิสก์หาพื้นที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ที่บกพร่อง ซึ่งมักเกิดจากการปิดเครื่องโดยไม่ได้ Shut down หรือไฟดับกะทันหัน ซึ่งทำได้โดยการเรียกใช้โปรแกรม Check Disk

        4. ควรจัดเรียงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ให้เป็นระเบียบ เพื่อเพิ่มเนื้อที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์และเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ได้รวดเร็วขึ้น โดยการเรียกใช้โปรแกรมยูทิลิที้ของวิโดวส์ได้แก่ Disk Defragmenter ซึ่งควรทำอย่างน้อยเดือนละครั้ง



2. ออปติคัลดิสก์

        ออปติคัลดิสก์ เป็นหน่วยความจำรองที่ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ในการบันทึกข้อมูล ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากกว่าฮาร์ดดิสก์ธรรมดา ออกติคัลดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้

        2.1 ซีดีรอม (CD-Rom : Compact Disk-Read-Only Memory) เป็นหน่วยความจำรองที่บันทึกได้เพียงครั้งเดียว จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้รวมทั้งไม่สามารถบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมได้ ซีดีรอมไดร์ฟรุ่นแรกสุดนั้นมีความเร็วในการอ่านข้อมูลที่ 150 กิโลไบต์ต่อวินาที เรียกว่า มีความเร็ว 1 เท่าหรือ 1X ซึ่งซีดีรอมไดร์ฟรุ่นหลัง ๆ ก็จะอ้างอิงความเร็วใจการอ่านข้อมูลจากรุ่นแรกเป็นหลัก เช่น ความเร็ว 52 เท่า (52X) เป็นต้น

ซีดีรอม

        2.2 ซีดีอาร์ (CD-R : Compact Disk Recordable) เป็นหน่วยความจำรองที่เขียนข้อมูลลงแผ่นแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้ แต่ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลลงแผ่นเดิมได้จนกระทั่งแผ่นเต็ม


ซีดีอาร์ 

        2.3 ซีดีอาร์ดับบลิว (CD-RW : Compact Disk Rewrite) หน่วยความจำที่สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่น และสามารถเขียนข้อมูลใหม่ทับลงในแผ่นเดิม หรือผู้ใช้สามารถเปลี่ยนเนื้อหาต่าง ๆ ภายในแผ่นซีดีอาร์ดับบลิวได้คล้ายแผ่นฟลอปปี้ดิสก์

ซีดีอาร์ดับบลิว


        2.4 ดีวีดี (DVD : Digital Video Disk) เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมแทนแผ่นซีดี เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลมาใช้มากขึ้น ซึ่งดีวีดีหนึ่งแผ่น สามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 4.7 กิโลไบต์ นิยมใช้บันทึกภาพยนตร์ หลังจากที่บันทึกข้อมูลลงแผ่นดีวีดีแล้ว ผู้ใช้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดีวีดีมี 3 ชนิดได้แก่

            1) ดีวีดีรอม (DVD-ROM) ส่วนมากใช้กับการเก็บภาพยนตร์ที่มีความยาวเกินกว่าสองชั่วโมง

ดีวีดีรอม

            2) ดีวีดี-อาร์ (DVD-R) ใช้ในการเก็บข้อมูลที่มีปริมาณมาก และราคาสูงกว่าดีวีดีรอม

ดีวีดี-อาร์



            3) ดีวีดี-อาร์ดับบลิว (DVD-RW) เป็นเทคโนโลยีแบบแสงมีเครื่องอ่านดีวีดีแรมที่ให้ผู้ใช้บันทึก ลบ และบันทึกข้อมูลซ้ำลงบนแผ่นเดิมได้

ดีวีดี-อาร์ดับบลิว


            2.5 บลูเรย์ดิสก์ (Blue Ray Disk) เป็นเทคโนโลยีแบบแสงล่าสุดที่สามารถบันทึกข้อมูลความละเอียดสูงได้ถึง 100 กิกะไบต์ ให้ภาพและเสียงที่คมชัด มักนำไปใช้ในการบันทึกภาพยนตร์ แต่แผ่น บลูเรย์ดิสก์จะมีราคาแพง 

บลูเรย์ดิส 




การเลือกซื้อออปติคัลดิสก์

        1. ควรซื้อแผ่นที่ใส่ในหลอดแผ่นซีดี แบบ 50 แผ่น ไม่ควรซื้อแบบใส่ซองพลาสติก แบบซ้อนกันขาย เนื่องจากอาจเกิดรอยขีดข่วนบนแผ่นได้

        2. ควรเลือกสีเคลือบด้านบนที่เป็นมันวาว จะไม่สึกกร่อนง่าย

การดูแลรักษาออปติคัลดิสก์

        1. เก็บแผ่นไว้ในกล่องหรือซองที่มิดชิด เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและรอยขีดข่วน

        2. ควรเช็ดทำความสะอาดแผ่นก่อนใช้

        3. ควรตรวจเช็คว่าแผ่นซีดีนั้นยังสามารถอ่านได้อยู่เสมอ และประมาณ 2 ปี ควรนำแผ่นข้อมูลสำคัญมาบันทึกใหม่


3. อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช

        อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช (flash memory device) แฟลชไดร์ฟ (flash drive)

        ธัมไดร์ฟ (thumb drive) หรือแฮนดี้ไดร์ฟ (handy drive) เป็นความจำประเภทรอมที่เรียกว่า อีดีพร็อม (Electrically Erasable Programmable Read Only Memory : EEPROM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ สามารถเก็บข้อมูลได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คือ สามารถเขียนและลบข้อมูลได้ตามต้องการ และเก็บข้อมูลได้แม้ไม่ได้ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก


ธัมไดร์ฟ

การเลือกซื้ออุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช

        1. ควรเลือกที่มีความแข็งแรงขนาดไม่ใหญ่เกินไป และฝาปิดควรให้เชื่อมต่อกับตัวหน่วยความจำ เพื่อไม่ให้สูญหายง่าย

        2. เลือกขนาดความจุและราคาที่เหมาะสม

        3. ควรเลือกที่มีการรับประกัน


การดูแลรักษาอุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช

        เมื่อเลิกใช้หน่วยความจำแบบแฟลชที่ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องยกเลิกการเชื่อมต่อ โดยคลิกขวาที่การเชื่อมต่อด้านขวามือของทาส์กบาร์ คลิก Safe To Remove Hardware จากนั้นคลิก stop และ close ที่หน้าจอ ไม่ควรดึงออกจากการต่อเชื่อมเลยทันที

ความจำหลัก

หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่มีความเร็วในการเข้าถึง
ข้อมูลสูงและจำเป็นต้องมีในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เพราะเป็นองค์ประกอบที่ทำให้เครื่อง
คอมพิวเตอร์ทำงานได้ จึงเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำหลัก หน้าที่ของหน่วยความ
จำหลักในระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ใช้เป็นที่เก็บข้อมูลก่อนนำไปประมวลผล เก็บคำสั่งของโปรแกรม
ขณะใช้งาน และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำไปแสดงผล
          หน่วยความจำหลักในระบบคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
          1. หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียวหรือรอม (Read Only Memory : Rom) 
เป็นหน่วยความจำที่บริษัทผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ได้บรรจุชิปหน่วยความจำแบบติดตั้งถาวรหรอ
ไบออส (Basic Input Output System : BIOS) ไว้บนแผงวงจรหลักเรียบร้อยแล้ว โดยข้อมูลที่บรรจุ
ในหน่วยความจำแบบนี้จะยังคงอยู่แม้ปิดเครื่องไปแล้ว และเมื่อเปิดเครื่องใหม่ หน่วยประมวลผลกลาง 
จะอ่านโปรแกรมหรือข้อมูลในหน่วยความจำรอมมาใช้ประมวลผลได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถนำข้อมูลอื่น
 มาเขียนลงในรอมได้
          รอมแบ่งเป็นหลายชนิด ดังนี้
              พรอม (Programmable ROM : PROM) เป็นหน่วยความจำรอมชนิดที่ผู้ใช้สามารถเขียน
โปรแกรมหรือคำสั่งแล้วบันทึกเอาไว้อย่างถาวร โดยอาศัยเครื่องมือเฉพาะ แต่คำสั่งที่บันทึกนั้นไม่
สามารถแก้ไขได้อีก
              อีพรอม (Erasable PROM : EPROM) เป็นหน่วยความจำรอมชนิดที่สามารถเขียน
โปรแกรมหรือคำสั่ง บันทึก ลบ และแก้ไขข้อมูลได้ด้วยการฉายแสงอัลตราไวโอเลตลงบนผิวซิลิคอน
              อีอีพรอม (Electrically Erasable PROM : EEPROM) เป็นหน่วยความจำรอมชนิดที่ใช้
กระแสไฟฟ้าเขียนโปรแกรมหรือคำสั่งลงไปได้ง่ายกว่าอีพรอม มีโปรแกรมเป็นตัวควบคุมและไม่ต้อง
ใช้แสงอัลตราไวโอเลต นอกจากนี้การเขียนและลบข้อมูลบนอีอีพรอมจะใช้เวลามากกว่าแรมหลายเท่า
จึงเหมาะสมสำหรับงานที่ไม่ต้องแก้ไขข้อมูลบ่อยนัก และความเร็วของอีอีพรอมใกล้เคียงกับแรมมาก
จึงถูกใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ตามห้างสรรพสินค้าที่เก็บรายละเอียดของสินค้า ซึ่งผู้ใช้งานสามารถ
เปลี่ยนแปลงราคาสินค้าได้ตลอดเวลา รวมถึงข้อมูลที่อยู่ในอีอีพรอมจะยังคงอยู่แม้ปิดเครื่อง
คอมพิวเตอร์แล้ว

          2. หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้หรือแรม (Random Access Memory : RAM) เป็น
หน่วยความจำที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่ง มีหน้าที่จดจำคำสั่งที่เป็นโปรแกรมและข้อมูลที่จะ
ทำการประมวลผล ในขณะที่มีการเปิดเครื่องและมีไฟฟ้าอยู่เท่านั้น จึงต้องมีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้
กับตัวแรมตลอดเวลา จึงจะสามารถเก็บข้อมูลอยู่ได้ ถ้าไฟฟ้าดับหรือไม่มีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้กับตัว
แรม ข้อมูลต่างๆ ที่เก็บไว้บนตัวแรมจะหายไปหมด แรมที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 ประเภท ดังนี้
                1) ไดนามิกแรมหรือดีแรม (Dynamic RAM : DRAM) เป็นหน่วยความจำที่พบในเครื่อง
ไมโครคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพราะราคาไม่แพงและมีความจุข้อมูลสูง หน่วยความจำชนิดนี้เก็บข้อมูล
เลขฐานสองแต่ละบิตไว้ที่ตัวเก็บประจุ ซึ่งเมื่อคายประจุจะทำให้ข้อมูลที่เก็บไว้หายไปได้จึงต้อง
ออกแบบให้มีการย้ำสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า รีเฟรช (Refresh) ให้ตัวเก็บประจุอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้
ข้อมูลที่เก็บภายในยังคงอยู่ตลอดการใช้งาน แต่การรีเฟรชนี้มีผลทำให้ดีแรมอ่านและเขียนข้อมูลได้
ช้าการเข้าถึงข้อมูลของดีแรมแบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้
               (1)   ช่วงจัดเตรียม (Setup Time) เป็นช่วงเวลาที่ใช้ในการเตรียมพื้นที่ในแรมให้พร้อม
ในการรับ-ส่งข้อมูล โดยพื้นที่ที่ใช้เก็บข้อมูลแบ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่ (Address) การจะอ่านหรือ
เขียนข้อมูลซีพียูต้องส่งสัญญาณที่ระบุตำแหน่งดังกล่าวไป
               (2)   ช่วงวงรอบการทำงาน  (Cycle Time) เป็นช่วงเวลาที่ใช้ในการอ่านหรือเขียน
ข้อมูลในตำแหน่งที่อยู่ที่ระบุ ส่งกลับมายังซีพียู
                ดีแรมได้มีการพัฒนาออกมาหลายรุ่น ซึ่งแต่ละรุ่นมีความแตกต่างกันในด้านความเร็วของ
การรับ-ส่งข้อมูล ดังนี้
            2) สแตติดแรมหรือเอสแรม (Static RAM : SRAM) เป็นหน่วยความจำที่อ่านและเขียนข้อมูล
ได้เร็วกว่าดีแรม เพราะไม่มีการรีเฟรชตลอดเวลา แต่จุข้อมูลได้น้อยและมีราคาแพง จึงนิยมใช้หน่วย
ความจำชนิดนี้เป็นหน่วยความจำแคชซึ่งช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานของดีแรม
        3. หน่วยความจำแคช ( Cache Memory) เป็นหน่วยความจำแรมแบบเอสแรมที่เพิ่มความเร็ว
ในการอ่านและเขียนข้อมูลของหน่วยความจำประเภทดีแรม โดยทำงานอยู่ตรงกลางระหว่างซีพียูและ
ดีแรมหน่วยความจำแคชทำหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งที่มีการใช้งานบ่อย เมื่อมีการเรียกใช้คำสั่งดัง
กล่าวซีพียูจึงไม่จำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลในแรม แต่สามารถเรียกข้อมูลจากหน่วยความจำแคชซึ่งเข้า
ถึงข้อมูลได้โดยตรงทำให้ลดเวลาในการอ่านและเขียนข้อมูลได้
        4. หน่วยความจำวิดีโอแรมหรือวีแรม (Video RAM : VRAM) เป็นหน่วยความจำแรมที่มีพื้น
ฐานมาจากดีแรม ใช้สำหรับเก็บภาพและแสดงผลบนจอภาพโดยติดตั้ง
มากับการ์ดแสดงผลหรือการ์ดจอที่มีราคาแพงคุณภาพดี และมีความเร็วในการทำงานสูง

หน่วยประมวลผลกลาง

หน่วยประมวลผลกลาง (CPU  หรือ Central  Processing  Unit)
  1. หน่วยควบคุม (Control Unit: CU) ทำหน้าที่ในการควบคุมและสั่งการให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ทั้งการรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูล เป็นต้น
  2. หน่วยตรรกะ (Arithmetic Logic Unit: ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณ เปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ โดยที่จะทำงานประสานกับหน่วยความจำหลัก (ซึ่งจะกล่าวในลำดับถัดไป)
สำหรับการทำงานของอุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลจะมีจังหวะสัญญาณนาฬิกาของเครื่องเป็นตัวควบคุมการทำงาน  โดยพิจารณาการทำงานว่าสามารถทำงานได้กี่ครั้งต่อรอบของเวลา  จะใช้หน่วยของ เฮิร์ตซ (Hertz) ซึ่งเทียบว่าทำงานได้กี่งานต่อหนึ่งวินาที
อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหลักๆดังนี้
30
ซีพียู (CPU) 
คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น
หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วย
หน่วยความจำหลัก(Primary Storage) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
  1. หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว(Read Only Memory – ROM)
เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น
  1. หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้(Random Access Memory – RAM)
32

เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง ข็อมูลที่อยู่ภายในหน่วยความจำชนิดจะหายไปทันที หน่วยควมจำแรม ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล (Output) โดยที่เนื้อที่ของหน่วยความจำหลักแบบแรมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
 1. Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้าโดย ข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป
 2. Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล
3. Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออก ยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ
4. Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วน นี้ไปที่ละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสังให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ
เมนบอร์ด (Mainboard, mother board)
33
               เมนบอร์ด (Mainboard, mother board) หรือ แผงวงจรหลัก เป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่อยู่ภายในเครื่อง เมื่อเปิดฝาเครื่องออกมาจะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่วางนอนอยู่ นั่นคือส่วนที่เรียกว่า “เมนบอร์ด” ส่วนประกอบหลักที่สำคัญบนเมนบอร์ดคือ

หน่วยรับเข้า

  หน่วยรับเข้า (input unit) เป็นหน่วยที่รับข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์พื้นฐานในการรับข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ แผงแป้นอักขระและเมาส์ นอกจากแผงแป้นอักขระแล้ว ยังมีอุปกรณ์ทางเลือกอื่นๆ เช่น เครื่องกราดภาพ joy stick เครื่องอ่านรหัสแท่ง
                ข้อมูลจากหน่วยรับเข้าจะถูกเปลี่ยนเป็นรหัสของเลขฐานสองซึ่งเป็นระบบตัวเลขที่คอมพิวเตอร์รับรู้ได้และนำไปประมวลผล  เช่น คำนวณและเปรียบเทียบ จัดเก็บ หรือส่งไปยังหน่วยส่งออก
                  1. แผงแป้นอักขระ (keyboard)
                แผงแป้นอักขระเป็นหน่วยรับเข้าพื้นฐานที่สุดของระบบ เพราะคอมพิวเตอร์ยุคแรกๆ ต้องรับคำสั่งทางแผงแป้นอักขระเท่านั้นยังไม่มีเมาส์หรืออุปกรณ์อื่นๆ
รูป แป้นพิมพ์
                หลักการทำงานของแผงแป้นอักขระคือ แป้นอักษรทุกแป้นมีสวิตช์กดหรือแผ่นเลเยอร์ (layer) ที่มีเส้นคาร์บอนเป็นตัวนำไฟฟ้า 2 แผ่นวางช้อนกันคั่นกลางด้วยอากาศ จัดเป็นวงจรเปิด กระแสไฟฟ้าไม่ครบวงจรกำหนดสถานะเป็นศูนย์ เมื่อแป้นอักษรถูกกด แผ่นเลเยอร์ทั้งสองจะยุบติดกันทำให้วงจรไฟฟ้าปิด สถานะทางตรรกะของสวิตช์จะเปลี่ยนจาก 0 เป็น 1 วงจรอิเล็กทรอนิกส์ในแผงแป้นอักขระจะตรวจจับโดยวิธีการกราด (scan) ว่ามีแป้นใดถูกกด ก็จะอ่านรหัสตัวอักขระของแป้นนั้นส่งผ่านช่องทางอนุกรม (serial port) เข้าในคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ที่เป็นตัวขับแผงแป้นอักขระ (keyboard device driver) จะส่งข้อมูลที่รับมาไปประมวลผลต่อไป
                การวางตำแหน่งตัวอักขระบนแผงแป้นอักขระ จัดเรียงตามมาตรฐานของเครื่องพิมพ์ดีดที่ใช้กันมานานก่อนมีเครื่องคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษ ใช้มาตรฐาน “QWERTY” ซึ่งได้มาจากลำดับตัวอักษรของมือซ้ายแถวที่สามนับจากแถวล่าง โดยการวางนิ้วก้อย นิ้วนาง นิ้วกลาง และนิ้วชี้ เรียงตามลำดับตัวอักษร ส่วนแป้นภาษาไทย นิยมใช้มาตรฐานที่มีชื่อเรียกว่า เกษมณี และมีลำดับตัวอักษรของมือซ้ายในแถวที่สองจากแถวล่างเป็น “ฟหกด”
                     2. เมาส์ (Mouse)
                เมาส์เป็นอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งบนจอภาพ (pointer) ทำให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้ เมาส์ช่วยให้การทำงานหลายอย่างสะดวกและง่ายขึ้นมาก เช่น การเลือกสัญรูปที่ต้องการทำงาน การวาดรูปลายเส้น ด้วยเครื่องมือวาดภาพ
รูป boll mouse
                เมาส์ที่ใช้ในช่วงแรกๆ เป็นแบบกล (ball mouse) โดยวางลูกบอลยางกลมๆ ไว้ด้านล่างของเมาส์ให้สัมผัสกับพื้นลูกบอลแตะกับแกนหมุน 2 แกนที่วางตั้งฉากกัน เมื่อเลื่อนเมาส์ไปมาลูกบอลจะทำให้แกนทั้งสองหมุน จานหมุนที่ปลายแกนซึ่งเจาะรูรอบขอบจานไว้จะหมุนไปด้วย ที่จานหมุนทั้งสองจะมีแอลอีดีเปล่งแสงอินฟราเรดส่งผ่านรูเล็กๆ ที่ขอบจานไปยังตัวตรวจจับแสงที่อยู่ตรงกันข้าม ระยะทางของการเคลื่อนที่ในแต่ละแนวแกนจะถูกตรวจจับโดยการนับจำนวนครั้งของการติดดับของลำแสงจากหลอดแอลอีดีที่ส่องผ่านขอบจานที่เจาะรูไว้อุปกรณ์ในแผ่นวงจรของเมาส์จะส่งข้อมูลการเคลื่อนที่ของจากหมุนทั้ง 2 แกนไปให้ซีพียูซอฟต์แวร์ตัวขับเมาส์จะควบคุมตัวชี้บนจอภาพให้เลื่อนไปมา
                เมาส์อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า ออปติคัลวีลเมาส์ (optical wheel mouse)  เมาส์ชนิดนี้มีหลักการทำงานคล้ายกล้องถ่ายรูปดิจิทัลขนาดจิ๋ว ที่ทำการถ่ายภาพด้วยความเร็ว 1,500 ภาพ ต่อวินาที ออปติคัลเมาส์สามารถทำงานได้บนทุกพื้นผิว แสงจากหลอดแอลอีดีสีแดงขนาดเล็กส่องลงบนพื้นในแนวแกน X และ Y แล้วสะท้อนกลับ ไปยังตัวตรวจจับแสงชนิดซีมอส (CMOS sensors) ตัวตรวจจับแสงแปลงสัญญาณแสงเป็นสัญญาณภาพแล้วส่งข้อมูลไปยังไอซีพิเศษที่มีชื่อว่า ดีเอสพี (digital signal processor) ซึ่งอยู่ในแผ่นวงจรของเมาส์ทำการประมวลผล ดีเอสพีทำงานที่ความเร็วสิบแปดล้านคำสั่งต่อวินาทีในการวิเคราะห์ว่าภาพที่ตรวจจับได้นั้นมีการเคลื่อนที่อย่างไร และส่งข้อมูลของการเคลื่อนที่นั้น ไปควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนจอภาพ
                     อุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่เช่นเดียวกับเมาส์ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กคือ แป้นสัมผัส (touchpad) เป็นแผงพลาสติกสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็กที่ไวต่อแสง เมื่อใช้นิ้วลากไปมาบนแป้นนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงค่าความจุไฟฟ้าในส่วนต่างๆ ของแผงและส่งไปควบคุมตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ
รูป แป้นสัมผัส
                  3. เครื่องกราดภาพ (scanner)
                เครื่องกราดภาพ หรือเครื่องกราดตรวจ ใช้เปลี่ยนภาพเป็นรหัสที่โปรแกรมกราฟิกสามารถแสดงผลเป็นภาพบนจอและพิมพ์ทางเครื่องพิมพ์ได้ ทำงานโดยการส่งแสงกราดไปตามภาพแล้วรับแสงสะท้อนกลับมายังกระจกเงาที่อยู่บนแท่นกราดแสง ความสว่างของแสงสะท้อนขึ้นอยู่กับสีและเส้นของภาพ บริเวณที่มีสีจางจะสะท้อนแสงกลับมามากกว่าบริเวณสีเข้ม กระจกจะสะท้อนแสงไปยังเลนส์ที่ทำหน้าที่รวมแสงไปยังไดโอดรับแสง (light-sensitive diodes) เปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นกระแสไฟฟ้า ปริมาณแสงที่สะท้อนกลับจะเป็นตัวกำหนดความแตกต่างของแรงดันไฟฟ้า อุปกรณ์แปลงสัญญาณจากแอนะล็อกเป็นดิจิทัล  (analogue-to-digital converter) จะเก็บสัญญาณของแรงดันไฟฟ้าเป็นจุดภาพรวมกันเป็นเส้นที่มีความสว่าง (bright) ที่แตกต่างกันในช่อง 300 ถึง 600 พิกเซลต่อนิ้ว เมื่อแกนกราดภาพเลื่อนไปตลอดแผ่นภาพจะได้เส้นทั้งหมดรวมกันเป็นภาพ
รูป กราดภาพ
                การกราดภาพสี แสงจะส่องผ่านแผ่นกรองแสง (filter) สีแดง เขียว หรือน้ำเงินก่อนกระทบภาพ ข้อมูลดิจิทัลจะถูกส่งไปยังซอฟต์แวร์ในคอมพิวเตอร์ เพื่อเก็บเป็นข้อมูลในรูปแบบกราฟิก ส่วนข้อความที่กราดเข้ามาเป็นภาพสามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นตัวอักขระได้ด้วยโปรแกรมอ่านอักขระด้วยแสง หรือ โอซีอาร์ (OCR : optical character reader)
                  4. เครื่องอ่านรหัสแท่ง (barcode readers)
                  รหัสแท่งเป็นรหัสที่ใช้แทนข้อความหรือตัวเลขที่ใช้กำกับสินค้าโดยพิมพ์เส้นตามแนวตั้งที่มีความหนาต่างกันเป็นแถบลงบนสินค้าและกล่องบรรจุ รหัสแท่งที่ใช้ในห้างสรรพสินค้าจะใช้มาตรฐานผลิตภัณฑ์แบบ UPC (universal product code)  เข้ารหัสเป็นตัวเลข  12 หลักส่วนรหัสแท่งอีกแบบหนึ่งเรียกว่า Bar 39 (three of nine) เป็นรหัสแท่งที่เป็นแบบอักษร (fonts) ชนิดหนึ่งสามารถแทนได้ทั้งตัวเลขและข้อความโดยไม่กำหนดความยาว นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมและหน่วยงานต่างๆ
                การใช้รหัสแท่งในระบบฐานข้อมูลเมื่อเริ่มบันทึกข้อมูลจะบันทึกเป็นรหัสและชื่อสินค้าตามปกติ เมื่อพิมพ์จะเปลี่ยนแบบอักษรของรหัส หรือชื่อสินค้า หรือทั้งรหัสและชื่อตามมาตรฐานที่ใช้เป็นรหัสแท่งลงในชิ้นกระดาษหรือในกล่องสินค้า เมื่อนำรหัสแท่งนี้ไปผ่านเครื่องอ่าน แสงสะท้อนจากรหัสแท่งจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่สามารถจำแนกได้ นำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่เก็บไป เมื่อพบจะบันทึกรายการตามงานที่ใช้ เช่น การซื้อ-ขาย จะบันทึกรายการสินค้าออก จำนวน ราคา และพิมพ์รายการสินค้านั้นลงในใบบันทึกการขายหรือใบเสร็จรับเงินชนิดย่อ งานห้องสมุดจะบันทึกชื่อผู้ยืมหรือคืนหนังสือพร้อมวันเวลา
                เครื่องอ่านรหัสแท่งมีหลายแบบ เป็นแบบแท่นอยู่กับที่หรือแบบมือจับ การรับส่งสัญญาณจะใช้แสงเลเซอร์สีแดง เมื่อนำรหัสแท่งไปผ่านเครื่องอ่านรหัส แสงจะถูกยิงมายังรหัสแท่งและสะท้อนกลับไปยังตัวตรวจจับแสงที่อยู่ในเครื่องเดียวกัน วงจรอิเล็กทรอนิกส์ในเครื่องอ่านจะแปลงสัญญาณแสงไปเป็นรหัสตัวเลขและข้อความส่งไปประมวลผล
                 5. กล้องดิจิทัล (digital camera)
                กล้องดิจิทัลเป็นระบบที่ปฏิวัติการถ่ายภาพแบบเดิมโดยไม่ต้องใช้ฟิล์มและกระดาษสำหรับอัดภาพ แต่ใช้วิธีบันทึกภาพลงในสื่อของคอมพิวเตอร์โดยตรงที่เรียกกันว่า memory card ซึ่งก็คือหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์นั่นเอง กล้องดิจิทัลมีหลักการทำงานเช่นเดียวกับเครื่องกราดภาพ โดยใช้เลนส์รวมแสงไปยังไดโอดเปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นไฟฟ้าและสัญญาณของจุดภาพแล้วเก็บลงในหน่วยความจำแบบแฟลชที่อยู่ในตัวกล้องข้อมูลภาพในกล้องดิจิทัลเป็นข้อมูลชนิดเดียวกับแฟ้มภาพในคอมพิวเตอร์จึงสามารถถ่ายโอนมาเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านช่องต่อยูเอสบีได้ทันที
                คุณภาพของกล้องดิจิทัลขึ้นอยู่กับความละเอียดในการบันทึกจุดภาพที่เรียกว่า พิกเซล ซึ่งขึ้นอยู่กับราคาของกล้องด้วย
                  6. เครื่องบันทึกเสียง (sound recorder)
                ในระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์จะมีเครื่องมือบันทึกเสียงติดตั้งมาให้ในเครื่องที่ติดตั้งโปรแกรมขับอุปกรณ์ไว้อย่างสมบูรณ์ ผู้ใช้เพียงติดตั้งไมโครโฟนเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเรียกใช้โปรแกรมบันทึกเสียงได้ทันที
รูป ช่องติดตั้งระบบเสียง
                ด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะมีช่องให้ติดตั้งระบบเสียง เป็นเต้ารับขนาดเล็กสามรู แต่ละช่องจะมีสีกำกับไว้ตามมาตรฐานการผลิต ได้แก่ สีชมพูต่อไมโครโฟน (microphone) สีเขียวอ่อนต่อ ลำโพงเสียง (speaker) หรือหูฟัง และสีฟ้า (line in) ต่อสัญญาณเสียงอื่นๆ เข้า เช่นจากเครื่องเล่นเทป ในเครื่องรุ่นใหม่ๆ บางรุ่นจะมีช่องต่อออกไปยังลำโพงเสียงเพิ่มให้อีกเป็นระบบเสียงแบบรอบทิศทาง
รูป sound recorder
                การเรียกใช้เครื่องมือบันทึกเสียงในวินโดวส์ คลิกปุ่ม Start > program > Accessories และ Sound Recorder จะมีเครื่องมือบันทึกเสียงดังภาพ เริ่มบันทึกเสียงคลิกปุ่ม Start Recorder ปุ่ม Start จะเปลี่ยนเป็น Stop Recorder ต้องการหยุดบันทึกเสียงให้คลิกปุ่มนี้ กรอบบันทึกแฟ้มจะปรากฏให้ตั้งชื่อแฟ้มและที่เก็บ
                แฟ้มเสียงจะถูกบันทึกเป็นแฟ้มชนิด wma หรือ Windows Media Audio File หลังจากบันทึกแล้วสามารถใช้โปรแกรมจัดการแฟ้มเสียงแปลงไปเป็นแฟ้มชนิดอื่น เช่น mp3 ได้